หญ้าหวานกับผลงานวิจัยของทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สารสกัดจากหญ้าหวานมีความปลอดภัยในทุก ๆ กรณี โดยค่าสูงสุดที่กินได้อย่างปลอดภัยคือ 7,938 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (น้ำหนักตัว)/วัน ซึ่งสูงมากถ้าเทียบกับการผสมในเครื่องดื่มหรือกาแฟถึง 73 ถ้วยต่อวัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้แน่นอน เพราะคนส่วนใหญ่กินกันประมาณ 2-3 ก็ถือว่ามากเพียงพอต่อวันแล้ว ซึ่งการใช้หญ้าหวานอย่างปลอดภัย คือ ประมาณ 1-2 ใบต่อเครื่องดื่ม 1 ถ้วย ถือเป็นปริมาณที่เหมาะสมและไม่หวานมากจนเกินไป แต่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ องค์การอนามัยโลกที่เกี่ยวกับสารเจือปนในอาหาร ได้กำหนดค่าความปลอดภัย เบื้องต้นไว้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมต่อวันอย่างไรก็ตามอาจต้องระมัดระวังการใช้ในใช้ในขนาดสูงติดต่อกันโดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะโรคไตและตับ
การตรวจสอบความเป็นพิษพบว่า งานวิจัยส่วนมากระบุว่าหญ้าหวานไม่มีพิษ และไม่มีหลักฐานใด ๆ ระบุว่าหญ้าหวานให้เกิดโรคมะเร็งแต่อย่างใด และยังมีการศึกษาทางคลินิกอีกหลายๆฉบับ ซึ่งส่วนใหญ่มีผลการศึกษาระบุถึงกลไกการออกฤทธิ์ในร่างกายมนุษย์คือ กลไกการออกฤทธิ์ของหญ้าหวานคือ สารสกัดของหญ้าหวานที่เป็นไกลโคไซด์ซึ่งมีส่วนประกอบของน้ำตาลกลูโคสและสารอะไกลโคนซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้น (Polysaccharides) จะทำปฏิกิริยากับต่อมรับรสของลิ้น ทำให้เรารับรสชาติความหวานซึ่งมีมากกว่าน้ำตาลถึง 150 เท่า และต่อมรับรสบางส่วนจะทำปฏิกิริยากับสารอะไกลโคนซึ่งทำให้รู้สึกถึงรสขมได้เล็กน้อย และระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ก็สามารถย่อยสลายและแยกไกลโคไซด์ของหญ้าหวานออกมาเป็นน้ำตาลกลูโคสได้อีกด้วย โดยน้ำตาลกลูโคสที่ได้นี้ส่วนใหญ่จะถูกแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ดึงไปใช้เป็นพลังงานของตัวลำไส้เอง จึงมีกลูโคสจากสารสกัดหญ้าหวานเพียงส่วนน้อยที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ส่วนสารสตีวิออลและสารโพลีแซคคาไรด์ (Poly saccharides) บางส่วนจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และส่วนใหญ่ที่เหลือจะถูกขับทิ้งไปกับอุจจาระ
เมื่อต้นปี ค.ศ. 2009 ประเทศสหรัฐอเมริกาโดย USFDA ได้พิจารณาและประกาศว่า หญ้าหวานได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย “Generally Recognized As Safe (GRAS) ส่วนการทดสอบการกลายพันธุ์ของสารสกัดหญ้าหวาน โดย Fujita และคณะ (1979), Okumura และคณะ (1978) และ Tama Biochemical Co-Ltd. (1981) ทำการทดลองกับเชื้อ Salmonella typhimurium, Escherichia coli และ Bacillus subtilis ผลการทดลอง พบว่า สารดังกล่าวไม่ก่อกลายพันธุ์แต่อย่างใด