งานวิจัยของบริษัทร่วมกับม.เทคโนโลยีสุรนารี
จากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่าเปลือกและเมล็ดลำไยมีสารฟีนอลิค (Phenolic compounds) สูง มีสารออกฤทธิ์สำคัญ 3 ตัวได้แก่ gallic acid, corilagin และ ellagic acid เป็นองค์ประกอบ มีฤทธิ์ทางด้าน Anti-Oxidantc และ Anti-Inflammatory
บริษัทจึงทำการวิจัยร่วมกับ ม.เทคโนโลยี สุรนารี เพื่อหากระบวนการแปรรูปเปลือกและเมล็ดลำไยให้ออกมาในรูปของเครื่องดื่ม ที่ง่ายต่อการบริโภคและมีคุณสมบัติสามารถช่วยลดอาการปวดของาการข้อเข่าเสื่อม และเก๊าต์
งานวิจัย ได้ศึกษากระบวนการผลิต สูตร และทดสอบความปลอดภัยจนได้ อย.รับรอง ทดสอบประสิทธิผลการรักษา โดยมี ดร.ลำไพร ศรีธรรมา หัวหน้าโครงการ และมี ผชศ. พญ. สรญา แก้วพิทูลย์ เป็นผู้วิจัยประสิทธิผลกับอาสาสมัครที่เป็นผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม และสรุปผล รายงานว่าเครื่องดื่มลำไยอินทรีย์สามารถลดการอักเสบในตัวอาสาสมัครได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บริษัทจึงได้จดกระบวนการผลิต และสูตรส่วนผสม เป็นความลับทางการค้า ร่วมกับ ITAP เพราะกระบวนการผลิตมีผลต่อปริมาณสารออกฤทธิ์ และ สูตร เป็นการประเมินให้ผู้บริโภคได้รับสารออกฤทธิ์เพียงพอที่จะส่งผลลดความเจ็บปวดของข้อเข่า
การศึกษาด้านความปลอดภัยของอาหารและผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มลำไยอินทรีย์
รายงาน ผลการศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัดลำไย(ในหนูทดลอง)จากการศึกษาความปลอดภัยของการบริโภคสารสกัดลำไยตามข้อกำหนดของ OECD พบว่าไม่มีหนูตัวใดมีพฤติกรรมที่ผิดปกติจากกลุ่มควบคุมในระยะ 14 วัน เมื่อป้อนสารสกัดลำไย ขนาด 2,000 และ 15,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ลักษณะการกินอาหารเม็ดมาตรฐานและน้ำ และการขับถ่ายของหนูแม้จะมีแนวโน้มว่าหนูกลุ่มได้รับสารสกัดลำไยในเพศเมียมีน้ำหนักมากกว่าหนูกลุ่มควบคุม (p<0.05) น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นใน 14 วันของหนูเพิ่มขึ้นตามปกติและไม่มีหนูตัวใดเสียชีวิตในระหว่างการทดสอบ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
เมื่อผ่าซากอวัยวะภายใน ไม่พบความผิดปกติทางพยาธิสภาพของหนูทั้งเพศผู้และเมีย เมื่อสังเกตด้วยตาเปล่า แต่เมื่อนำมาชั่งน้ำหนักเฉพาะแต่ละอวัยวะ พบว่า น้ำหนักเฉลี่ยสัมพัทธ์ของปอด หัวใจ ตับ ไต ต่อมหมวกไต ม้าม อัณฑะของกลุ่มได้รับสารสกัดลำไยมีค่าไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม โดยในเพศเมียที่ได้รับสารสกัดลำไย มีน้ำหนักเฉลี่ยสัมพัทธ์ของ อวัยวะไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ส่วนค่าทางเคมีคลินิคพบว่า ในเพศผู้เมื่อได้รับสารสกัดลำไยขนาดสูง ทำให้ ค่ากลูโคส และค่ายูเรียไนโตรเจน (Blood urea nitrogen) มีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนค่า AST ซึ่งเป็นดัชนีบ่งบอกถึงประสิทธิภาพการทำงานของตับ พบว่ามีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ในเพศเมียไม่มีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลทางพยาธิสภาพด้วยตาเปล่าไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดสอบที่ได้รับสารสกัดลำไย ทั้งสีและลักษณะเนื้อเยื่อ จากการทดลอง จึงได้ค่า LD50> 15,000 mg/kg และ NOAEL 2,000 mg/kg
ศึกษาความเป็นไปได้ในการรักษาข้อเข่าเสื่อม(Clinical Trial)
การศึกษานี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) ชนิดกลุ่มเดียววัดผลก่อนและ หลังการทดลอง (The one group pre-posttest design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดฟินอลิคในเครื่องดื่มลาไยในผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม กลุ่มตัวอย่างจะได้รับผลิตภัณฑ์ชาลำไยอบแห้งแบบทั้งผลที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา โดยชงดื่มวันละ 1 ซอง จากข้อมูลโภชนาการ (Nutrition fact) ทั้งแบบ Thai RDI และ USFDA ผลิตภัณฑ์1 ซอง 8 g มีปริมาณ phenolic compounds เท่ากับ 11.04 mg ติดตามประเมินผลหลังรับประทาน 2 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลัง ได้แก่ BMI ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระดับน้าตาลในเลือด ระดับการอักเสบ ระดับไขมันในเลือด และค่าความปลอดภัยของไตและตับ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยสถิติ ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานด้วยสถิติ Paired t-test เพื่อเปรียบเทียบความ แตกต่างค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างจานวน 18 ราย เพศชาย 6 รายและเพศหญิง 12 ราย พบว่าค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายก่อนและหลังจากรับประทานชาลาไย เท่ากับ 24.98 และ 25.61 กิโลกรัม/ตาราง เมตร ค่าเฉลี่ยการทางานของไต (creatinine) ก่อนและหลังเท่ากับ 0.798 และ 0.799 mg/dL ค่าเฉลี่ยการทางานของตับ (SGPT) ก่อนและหลังเท่ากับ 21.73 และ 19.47 U/L ค่าเฉลี่ยการทางานของตับ (SGOT) ก่อนและหลังเท่ากับ 23.73 และ 22.60 U/L ค่าเฉลี่ยของระดับยูริคก่อนและหลังเท่ากับ 5.62 และ 5.93 mg/dL ค่าเฉลี่ยของระดับ ESR ก่อนและหลังเท่ากับ 35.93 และ 20.67 mm/hr ค่าเฉลี่ยของระดับ CRP ก่อนและหลังเท่ากับ 6.20 และ 5.07 mg /l ค่าเฉลี่ยระดับน้าตาลในเลือดก่อนและหลังเท่ากับ 86.27 และ 90.13 mg/dL ค่าเฉลี่ยระดับไขมัน cholesterol ก่อนและหลัง เท่ากับ 194.07 และ 221.87 mg/dL ค่าเฉลี่ยระดับ Triglyceride ก่อนและหลังเท่ากับ 89.47 และ 110.13 mg/dL ค่าเฉลี่ยระดับ LDL ก่อนและหลัง เท่ากับ 124.73 และ 139.47 mg/dL ค่าเฉลี่ยระดับไขมัน HDL ก่อนและหลังเท่ากับ 44.53 และ 51.27 mg/dL
โรคข้อเข่าเสื่อม หรือ osteoarthritis of knee คือโรคที่เกิดจากความเสื่อมในข้อ ทำให้ข้อนั้นอักเสบปวด บวม เคลื่อนไหวไม่สะดวก การตรวจทางห้องปฏิบัติการ มักพบการเปลี่ยนแปลงของข้อในการตรวจภาพรังสี ผลการตรวจ ESR ในเลือดสูงขึ้น สารโพลีฟีนอล สามารถยับยั้งการสลายองค์ประกอบสาคัญของกระดูกอ่อน ยังยับยั้งเอนไซม์โปรทีแนส MMP ไม่ให้ย่อยสลายกระดูกอ่อน ส่งผลให้อาการปวดข้อลดลง อาการอักเสบในข้อลดลง
หลังการทดลองพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าระดับ ESR ลดลงกว่าก่อนการทดลอง และมีความปลอดภัยต่อการทำงานของตับและไต อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
เอกสารอ้างอิงจากต่างประเทศเกี่ยวกับคุณสมบัติของสารประกอบฟินอลิคที่สกัดจากเมล็ดลำไย
Hou, CW., et al. (2012)
In Vitro:
- Xanthine oxidase inhibitor
- ควบคุมการเคลื่อนย้าย Urate, GLUT1 และ GLUT9
In Vivo: ในหนูทดลอง
- ยับยั้งการสร้าง Uric คล้ายกับยา Allopurinol ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเก๊าต์
- Allopurinol เข้มข้น 3.5 mg/kg. สามารถลดระดับ uric acid ได้ใกล้เคียงกับสารสกัดจากเมล็ดลำไยที่ความเข้มข้น 80 mg/kg.
Zeng SQ,et al.,(2010): ทดลองให้สารสกัดจากเมล็ดลำไยที่ความเข้มข้น 50-100 mg/kg. ภายหลังจากให้หนูว่ายน้ำ พบว่า
- ลดอาการกล้ามเนื้อล้า (Antifatigue effeets) ในหนูโดยเพิ่มปริมาณ hepatic glycogen
- ลดปริมาณ blood urea nitrogen และ blood lactic acid
- ช่วยปกป้อง ยืดอายุไขข้อกระดูก และกล้ามเนื้อ ไม่ให้เสื่อมสลายก่อนเวลาอันควร โดยยับยั้งการทำงานของ Proteinase MMP-Z,