พูดถึงโรคไขมันเกาะตับ นับว่าเป็นความโชคดีมากๆ เพราะว่าโรคตับลักษณะนี้สามารถที่จะดูแลรักษาได้เพียงแค่เปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต อาหารการกิน ถ้าหากว่าเราหวังพึ่งยาอย่างเดียว ก็ไม่สามารถที่จะหายขาดได้
หลายคนปล่อยปละละเลย ยังไม่เข้าใจการดำเนินของโรคตับอักเสบ เพราะคิดว่าไม่เป็นอะไร แต่หารู้ไม่ว่าอาจจะความรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังได้ และลงเอยที่โรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับได้
ไขมันเกาะตับ ตั้งชื่อตามคำเรียกตรงๆ เพราะว่ามีไขมันไปเกาะที่ตับมากเกินไป ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันนี้ไม่ทันและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา
เราแบ่งตามสาเหตุการเกิดโรคตับนี้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์
2. ไม่ได้เกิดในกลุ่มคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ ยังไม่มีแลป หรือผลการตรวจใดๆ ที่จะแยกระหว่างคนไข้ 2 กลุ่มนี้ออกจากกันได้
ดังนั้น กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อโรคตับนี้ คือคนที่มักจะทำให้ตับทำงานหนัก เสี่ยงต่อตับอักเสบ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้ยาที่ต้องมีกระบวนการผ่านตับ (พาราเซตามอล กลูโคซามีน ฯลฯ) อย่างเกินความจำเป็น
ภาวะทุกขโภชนาการ คือทานอาหารที่ไม่เหมาะสม กินแป้งมากไป กินไขมันชนิดดีน้อยไป กินน้ำตาลมากเกินไป กินไขมันอิ่มตัวมากจนเกินไป (satuated fatty acid) (เพราะไม่ว่าไขมันจะมาจากแหล่งไหนก็ไม่มีไขมันอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัวเพียงอย่างเดียว มักจะมีปะปนกัน อยู่ที่สัดส่วน เช่น น้ำมันมะกอกเป็นไขมันไม่อิ่มตัว แต่ก็มีสัดส่วนของไขมันอิ่มตัวอยู่ เพียงแต่มีปริมาณน้อยมาก ดังนั้นควรทานให้พอดี ในขณะเดียวกันไขมันอิ่มตัวที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ เช่นไขมันทรานส์ ควรหลีกเลี่ยง) พันธุกรรมที่ทำให้การจัดการเผาผลาญไขมันในร่างกายลดลง โดยส่วนมาก ถ้าตัวโรคไม่ได้รุนแรงมักจะยังไม่มีอาการ
นอกจากจะรู้วิธีการดูแลตัวเองแล้ว เราก็ควรจะทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรคตับนี้ด้วย เพื่อป้องกันและตัวแลตัวเองในระยะยาว
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ.2010 ใน QJM ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ โดยมักจะเน้นการตีพิมพ์เนื้อหาที่เกี่ยวกับการแพทย์เฉพาะทาง ที่ได้ทำการรวบรวมงานวิจัยอื่นๆ เกี่ยวกับภาวะไขมันเกาะตับ และมาทบทวนถึงสาเหตุการเกิดโรคไขมันเกาะตับที่ไม่ใช่มาจากแอลกอฮอล์ พบว่า มักจะสัมพันธ์กับคนที่มีภาวะโรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และยังพบว่าช่วงอายุของคนที่พบโรคนี้ อายุน้อยลง รวมทั้งมีรายงานว่าพบในเด็กมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กอ้วน
ในงานวิจัยชิ้นนี้พยายามที่จะหาสาเหตุที่แน่นอนในการเกิดโรคนี้ แต่ก็ยังไม่แน่ชัดในทุกประเด็น จึงสมมุติฐานการเกิดโรคตับ ไว้ 3 สาเหตุใหญ่ๆ ดังนี้
สาเหตุแรกคือ 2-hit hypothesis การที่ตับมีไขมันไตรกลีเซอไรด์สะสมในตับมากขึ้นๆจนเกินกว่าที่ตับจะรับไหว ทำให้ตับต้องหลั่งสารอักเสบออกมา (Cytokines/adipokines) ร่างกายก็เกิดความเสียหายจากการหลั่งสารอักเสบตามมา เกิดสารอนุมูลอิสระขึ้นมาก การทำงานของไมโตรคอนเดียลดลง (ไมโตรคอนเดียคือ แหล่งสร้างพลังงานในระดับเซลล์) ตามมาด้วยตับอักเสบ
จากสาเหตุนี้ จะเห็นว่าคนที่มีปัจจัยเสี่ยง คือคนที่อ้วนลงพุง กินไขมันไม่ดีมากเกิน เนื้อตับเองก็ทำงานหนักมาก อาจจะมีบางส่วนที่เสื่อมไป และร่างกายก็ผลิตเซลล์ตับขึ้นมาไม่ทัน ทำให้ตับเผาผลาญไขมันไม่ทัน หรือไม่ก็อาจจะผลิตเซลล์ตับที่ไม่สมบูรณ์ มักจะเกิดในคนไข้ที่มีตับอักเสบเรื้อรัง หรือตับทำงานหนักๆ มาก ไปจนถึงผลิตเซลล์ตับปกติมาชดเชยไม่ทัน ก็เกิดตับแข็ง แต่ถ้าในคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ก็จะผลิตเซลล์ตับขึ้นมาแทนที่เซลล์ตับที่เสื่อมไปและมาทำงานชดเชยกันได้
สาเหตุที่ 2 คือการที่ร่างกายมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สูง ไม่ว่าจะเป็นจากการที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเอง การรับประทานอาหาร โดยเฉพาะไขมันทรานส์ การสลายไขมันในร่างกายเพื่อให้ได้กรดไขมันและกลีเซอรอล กระบวนการเหล่านี้จะยิ่งทำให้ร่างกายสะสมไขมันชนิดเลว (LDL) มากยิ่งขึ้น ดังนั้น ตับก็จะมีไขมันเพิ่มขึ้น ทั้งจากการผลิตที่มากขึ้นและการพยายามจะนำไขมันไปเผาผลาญให้ออกจากร่างกาย
สาเหตุที่ 3 การดื้อต่ออินซูลิน ความจริงแล้วในคนปกติร่างกายจะมีตัวรับฮอร์โมนอินซูลินอยู่ตามเซลล์ต่างๆ เพื่อนำน้ำตาลจากในเลือดไปใช้ในเซลล์ แต่ถ้าเซลล์นั้นดื้อต่ออินซูลิน นั่นก็คือ ตัวรับอินซูลินของเซลล์ไม่ทำงานนั่นเอง ทำให้มีน้ำตาลค้างอยู่ในหลอดเลือด เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง เพิ่มสารอนุมูลอิสระ ร่างกายหลั่งสารอักเสบออกมา ทำลายเนื้อตับ หากว่าร่างกายไม่สมบูรณ์ผลิตเนื้อตับที่ดีมาชดเชยไม่ได้ ก็จะเกิดตับอักเสบเรื้อรังจนสุดท้าย ลงเอยด้วยตับแข็งและมีโอกาสพัฒนาเป็นมะเร็งตับ
นอกจากนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ยังกล่าวถึงว่า พันธุกรรมก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ แต่ก็เป็นเพียงปัจจัยเสริมที่ทำให้การเผาผลาญไขมันลดลง การดื้อต่ออินซูลินมากขึ้น อ้วนลงพุง ซึ่งหากสามารถควบปัจจัยภายนอก เช่น การรับประทานอาหาร ก็จะช่วยลดการเกิดโรคนี้ได้
งานวิจัยนี้กล่าวว่า การรักษาล่าสุดจะเน้นไปที่การเพิ่มกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย รักษาโรคแทรกอื่นๆ เช่น เบาหวาน ให้ดีขึ้น และป้องกันไม่ให้เนื้อตับกลายเป็นตับแข็ง
ฉะนั้น ถ้าหากว่ามีภาวะเสี่ยง เช่น เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคอ้วนลงพุง, โรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากการตรวจร่างกายประจำปีอย่างสม่ำเสมอแล้ว การดูแลตัวเองตามแนวทางที่แนะนำ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด การลดการใช้ยา ด้วยการบูรณาการความรู้ความเข้าใจในทุกศาสตร์ จึงเป็นการรักษาที่ยั่งยืนที่สุด
สามารถทดลองบำรุงตับด้วยชาลิ้นจี่ ได้ ทั้งนี้เพราะเม็ดและเปลือกของลิ้นจี่นั้นมีสาร Oligonol (โอลิโกนอล) ที่มีรายงานการศึกษาวิจัยแสดงว่าโอลิโกนอล มีผลดีต่อองค์รวมระบบต่างๆของร่างกาย กล่าวคือ เร่งการเผาผลาญไขมัน และลดการดูดซึมไขมัน เพิ่มการไหลเวียนระบบหัวใจและหลอดเลือด ลดปริมาณไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) ในผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง ลดการสะสมของไขมันในตับ (Fatty liver) กำจัดอนุมูลอิสระที่มากเกินไปในร่างกาย และเพิ่มความสดชื่น กระฉับกระเฉง ขจัดความอ่อนล้าทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย
✅ ได้รับมาตราฐาน อย.
✅ สั่งมากสั่งน้อยจัดส่ง 80บาท ราคาเดียวทั่วไทย
✅ ติดตามรายละเอียด สั่งซื้อได้ที่ 👇🏻
WEBSITE : www.inwiangvalley.com
Line : https://bit.ly/2mLpi6O (@inwiangvalley)
❥เปิดรับตัวแทนจำหน่าย เริ่มต้นเพียง 10 ชิ้นจ้า‼️