ทำความรู้จักกับ “พรีไบโอติก”

 

ปัจจุบันนี้มีคนพูดถึงกันเยอะเลยกับ โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) จนหลาย ๆท่านคงเคยสงสัยใช่มั้ยว่า พรีไบโอติก (Prebiotic) นั้นคืออะไร? มีคุณประโยชน์และให้คุณค่าทางโภชนาการอย่างไร?
เรามาทำความเข้าใจกับทั้งสองตัวกันก่อนนะคะ
📌โพรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กซึ่งจัดเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี สามารถพบได้ในอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ คอมบุชา เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหาร ให้คำจำกัดความว่า โพรไบโอติกส์ คือ “จุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้สุขภาพดีในภาวะต่างๆ”
📌พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออาหารชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก อาหารเหล่านี้จึงสามารถเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียโพรไบโอติกส์ ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของแบคทีเรียโพรไบโอติกส์ได้ พบได้ในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่างๆ หรือชาลำไยสวนในเวียง ที่ผ่านการอบด้วยความร้อนตำ่เป็นเวลานานจนน้ำตาลในเนื้อลำไยมีการปรับสภาพเป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยวที่เป็นอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ หรือกระเพาะอาหารที่เรียกว่า พรีไบโอติกส์นี่เอง
 
รวมๆแล้ว จะว่าง่ายๆ ก็คือ พรีเป็นอาหารของโพร นั่นเอง ดังนั้นมันควรไปคู่กัน เพราะถ้ามีอาหารแต่ไม่มีคนกิน หรือมีคนกินแต่ไม่มีอาหาร คนกินก็อดตาย จุลินทรีย์หมดไป ขบวนการขาดตอนทำให้คนรุ่นใหม่ส่วนมากท้องผูกเพราะ อาหารที่บริโภคในปัจจุบัน โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูป ที่นอกจากอุดมไปด้วยสารกันบูด กรรมวิธีเขาก็ต้องฆ่าเชื้อทุกสิ่งอย่างเพื่อให้เก็บไว้ได้นาน และแน่นอน จุลินทรีย์ตัวดีก้อหายไปด้วย และถึงจะมีผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ช่วยเพิ่มเติมจุลินทรีย์มากมาย แต่หากไม่มีอาหารให้เขา จุลินทรีย์ก็ลงไปตายในท้องเราอยู่ดี บางคนกินนมเปรี้ยว นมบูดก้อแล้ว ก็ไม่ได้ช่วย อะไรเท่าไหร่นัก ไม่ท้องเสีย กลายเป็นของเสียไปหมักหมมในลำไส้ต่อไปอีก ถ่ายไม่ออก เบ่งเยอะ เป็นริดสีดวงไปอีก จำต้องไปผ่าตัดอีก ดังนั้นหากปรับใช้วิถีชีวิตใหม่และลองหันมาใส่ใจสุขภาพดูจะช่วยปรับสมดุลของร่างกายได้ดีทีเดียว
ขอขอบคุณที่มา : เพจ Organic Bitch – แฉชีวิตออแกนิค