ปวดข้อเท้าด้านนอก… อาการที่นักวิ่งไม่ควรมองข้าม!

  • อาการปวดข้อเท้าด้านนอก ที่เกิดอาการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้าเป็นเวลานาน จะทำให้ความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้าต่ำลง ทำให้เกิดข้อเท้าพลิกขณะวิ่งได้
  • การเปลี่ยนการลงเท้าเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากมีอาการเจ็บบริเวณข้อเท้า การวิ่งลงส้นเท้าเล็กน้อยจะช่วยลดแรงกระทำบริเวณข้อเท้าลงได้โดยไม่ต้องหยุดวิ่ง

อาการเจ็บข้อเท้าด้านนอก อาจไม่ได้พบบ่อยมากในนักวิ่งเมื่อเทียบกับอาการปวดเข่า หรือปวดส้นเท้า แต่สำหรับใครที่เคยเป็น คงพอจะทราบว่ามันไม่ง่ายที่จะรักษาให้หาย ถึงแม้ไม่ได้เจ็บถึงขั้นทำให้วิ่งไม่ไหว แต่ก็ไม่ยอมหายสนิทเสียที นอกจากนี้ อาการเจ็บข้อเท้าด้านนอกยังอาจเกี่ยวข้องกับอาการบาดเจ็บอื่นที่หนักหน่วงถึงขั้นต้องหยุดวิ่งเพื่อรักษาการบาดเจ็บให้หายดีด้วย อาทิเช่น ข้อเท้าพลิก เป็นต้น

งานวิจัยของ Pejman Zia เก็บข้อมูลจากนักวิ่งที่มีปัญหาข้อเท้าพลิก ซึ่งมีอาการปวดข้อเท้าด้านนอกมาอยู่ก่อนแล้วจำนวน 58 คน จากการซักถามประวัติพบว่า มีจำนวนนักวิ่งถึง 48 คนที่มีอาการเข้าได้กับ อาการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้าด้านนอก (Peroneal Tendonitis) และเมื่อได้ทำการตรวจด้วยเครื่องตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ก็พบว่า 55 คนจาก 58 คน (คิดเป็น 95%) มีอาการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้าด้านนอก (Peroneal Tendonitis) อยู่ด้วย โดยเส้นเอ็นบริเวณดังกล่าวเป็นส่วนปลายของกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณขาด้านนอก (Peroneus Longus และ Brevis) ซึ่งจากข้อมูลที่ค้นพบนี้ แสดงให้เห็นว่าอาการปวดข้อเท้าด้านนอกนั้นสัมพันธ์กับการเกิดข้อเท้าพลิกอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะบอกว่าอาการนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ข้อเท้าพลิกก็ตาม แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่การเกิดอาการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้านานๆ นั้น ทำให้ความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้าต่ำลงจนมีอุบัติเหตุข้อเท้าพลิกตามมาในที่สุด

ดังนั้น หากนักวิ่งท่านใดเริ่มมีอาการปวดข้อเท้าด้านนอกแล้ว แนะนำว่าควรรีบรักษาให้หายขาดโดยเร็ว เพื่อลดการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณนั้นนานจนเกินไป โดยหลักการรักษาก็มีอยู่หลายวิธี ทั้งการลดแรงที่มากระทำบริเวณดังกล่าว การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพื่อให้รับแรงได้ดีขึ้น และการช่วยให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นฟื้นตัวดียิ่งขึ้น

การเปลี่ยนการลงเท้า เป็นหนึ่งในวิธีที่น่าสนใจและแปลกใหม่ที่จะขอยกเป็นตัวอย่างให้ได้ทราบกัน วิธีการนี้ไม่ใช่การเปลี่ยนมาลงหน้าเท้าหรือกลางเท้าแบบที่เป็นที่พูดถึงกันมากในปัจจุบัน แต่เป็นการเปลี่ยนกลับไปลงส้นเท้าให้มากขึ้นต่างหาก  เนื่องจากการลงเท้าที่แตกต่างกันส่งผลให้โครงสร้างและกล้ามเนื้อที่ใช้รับแรงก็แตกต่างกันไปตามไปด้วย แต่แรงไม่ได้หายไปไหน สำหรับการวิ่งลงส้นเท้าแรงกระทำต่อหัวเข่าจะสูงกว่า ส่วนการวิ่งลงหน้าเท้าแรงกระทำต่อข้อเท้าและน่องก็จะสูงกว่า ในกรณีมีอาการเจ็บบริเวณข้อเท้าอยู่ การเปลี่ยนกลับไปวิ่งลงส้นเท้าเล็กน้อยในช่วงที่มีอาการเจ็บจะสามารถช่วยลดแรงกระทำบริเวณข้อเท้าลงได้โดยไม่ต้องหยุดวิ่ง (แต่ห้ามก้าวยาวจนเกินไปและวิ่งลงส้นตอนเข่าตึง)

กล่าวโดยสรุปคือ อาการปวดข้อเท้าด้านนอกนั้นสัมพันธ์กับการเกิดข้อเท้าพลิก หากนักวิ่งท่านใดเริ่มมีอาการแสดงขึ้นแล้วควรรีบรักษาให้หายขาด เพื่อป้องกันไม่ให้อาการเป็นหนักมากขึ้นจนเกิดข้อเท้าพลิกตามมา ซึ่งรุนแรงกว่าและส่วนมากส่งผลให้นักวิ่งต้องหยุดวิ่งเป็นเวลานาน

ชาลำไยสวนในเวียงสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดจากการอักเสบได้ เพราะในเปลือกและเมล็ดลำไยมีสารฟีนอลิค (Phenolic compounds) สูง ที่วิจัยโดยมหาวิทยาลัยสุรนารี แสดงว่าสารออกฤทธิ์สำคัญมีฤทธิ์ ต้านการอักเสบเรื้อรังโดยเฉพราะในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม Anit-Oxidant (ช่วยต้านอนุมูลอิสระ) และมีคุณสมบัติยับยังการสร้าง Uric (คล้ายยารักษาในผู้ป่วยโรคเก๊าต์) จึงสามารถบรรเทาอาการปวดควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามที่แนะนำข้างต้น

ได้รับมาตราฐาน อย.
สั่งมากสั่งน้อย ค่าส่ง80บาททั่วไทย
ติดตามรายละเอียด สั่งซื้อชาลำไยได้ที่ 👇🏻
WEBSITE : www.inwiangvalley.com
Line : https://bit.ly/2mLpi6O (@inwiangvalley)